e-tax by bigwork

Views : 1334
e-tax by bigwork

e-tax by bigwork

e-Tax Bigwork

e-Tax Bigwork ระบบจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

   
เพื่อรองรับการทำงานที่สะดวกด้วยการเชื่อมต่อเข้ากับ ERP ของคุณ และสำหรับแพลตฟอร์มการดำเนินงานของคุณหลากหลายรูปแบบ ให้การเข้าถึง e-Tax เป็นเรื่องที่สะดวก และลดปัญหาที่เกิดจากกระดาษในระยะยาว

3 Type system installation service

  • e-Tax in D365BC (Microsoft Dynamics 365 Business Central)
  • e-Tax in NAV Microsoft Dynamics NAV
  • e-Tax Platform



 
บริษัท งานใหญ่ จำกัด เป็นผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้จัดทำ ส่งมอบ เก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์

วันเดือนปีที่ได้รับอนุมัติ : วันที่ 12 ธันวาคม 2560


e-Tax คือ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกปรับรูปแบบจากกระดาษเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 
เป็นเอกสารที่กรมสรรพากรกำหนดให้ ผู้ประกอบการจัดทำใบรับ/ใบกำกับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานในการขายสินค้าและการให้บริการทุกครั้งเมื่อมีการชำระเงิน พร้อมทั้งต้องส่งมอบต้นฉบับใบรับ/ใบกำกับภาษีนั้น ในรูปแบบกระดาษให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เพื่อส่งเสริมการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) และดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 โดยมีหมายเลขใบรับรอง และลายมือชื่อดิจิทัล เป็นเครื่องยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษี จะช่วยให้ผู้ประกอบการลดระยะเวลาการส่งเอกสาร ลดภาระต้นทุนค่าเอกสาร ส่งเอกสาร สถานที่จัดเก็บเอกสาร และอื่น 

 
ต่อไปนี้จะเป็นเนื้อหาของ e-tax ที่กรมสรรพากรตั้งใจสนับสนุนเพื่อประโยชน์ต่อในการใช้งานดิจิทัล และสะดวกต่อผู้ประกอบการในการจัดเก็บเอกสาร-นำส่งภาษี เราไปเตรียมความพร้อมรับความรู้กัน


ต้นทุนที่เกิดจากการออกเอกสารใบกำกับภาษีในรูปแบบ "กระดาษ"

- ค่ากระดาษ

- ค่าเสื่อม Printer

- ค่าหมึก

- ค่าแฟ้ม, ตู้เก็บแฟ้มเอกสาร

- ค่าจัดส่งเอกสาร

- ค่าเช่าพื้นที่/สถานที่เก็บเอกสาร




ประโยชน์การจัดทำ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์

การจัดทำและการใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ให้ประโยชน์หลายประการแก่ธุรกิจ ผู้เสียภาษี และหน่วยงานด้านภาษี โดยมีข้อดีดังนี้

1.     ลดความซ้ำซ้อน และลดปัญหาการจัดการ เอกสารที่อยู่ในรูปของกระดาษ
ระบบอิเล็กทรอนิกส์ลดความเสี่ยงของข้อผิดพลาดด้วยตนเองที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ใช้กระดาษ การตรวจสอบความถูกต้องอัตโนมัติมีส่วนช่วยให้ข้อมูลในเอกสารภาษีมีความถูกต้องแม่นยำ

2.   ประหยัดต้นทุนในระยะยาว
กระดาษ การพิมพ์ และค่าจัดส่ง ขนส่งเอกสารไปยังสรรพากรเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษ การพิมพ์ ประหยัดต้นทุนได้อย่างมากเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษ การพิมพ์ และการจัดเก็บทางกายภาพ ส่งผลให้ประหยัดต้นทุนได้อย่างมาก รวมไปถึงลดต้นทุนการบริหารจัดการ ด้วยกระบวนการอัตโนมัติช่วยลดภาระการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสารที่เป็นกระดาษ

3.   ลดพื้นที่จัดเก็บเอกสารกระดาษ ด้วยการเก็บเอกสารแบบดิจิทัล

จากเดิมการนำส่งเอกสารภาษีในรูปแบบกระดาษ จำเป็นต้องใช้สถานที่ต้องรักษาความสมบูรณ์ของเอกสารภาษีเป็นระยะเวลา ไม่ต่ำกว่า 5 ปี ในปัจจุบันกรมสรรพากรผลักดันการใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จึงทำให้ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องเก็บเอกสารกระดาษอีกต่อไป รวมไปถึงลดการตกหล่นของเอกสารกระดาษอีกด้วย

 

4.   ความปลอดภัยของข้อมูล

มาตรการการเข้ารหัสและการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งช่วยปกป้องข้อมูลทางการเงินที่ละเอียดอ่อน ลดความเสี่ยงของการละเมิดข้อมูล และรับประกันการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความเป็นส่วนตัว การเข้ารหัสและการควบคุมการเข้าถึงที่ปลอดภัยในระบบ e-Tax ช่วยเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลทางการเงินที่ละเอียดอ่อน ลดความเสี่ยงของการฉ้อโกงและการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต

 

5.   เส้นทางเคลื่อนไหวในเอกสารสามารถตรวจสอบได้
ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ต้องถูกบันลายเซ็นดิจิทัล ทำให้มีแนวทางการตรวจสอบที่เชื่อถือได้ เหตุการณ์ลายเซ็นแต่ละรายการจะถูกบันทึกไว้ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับผู้ลงนาม การประทับเวลา และสถานะของลายเซ็น เส้นทางการตรวจสอบนี้อาจเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดและการระงับข้อพิพาท

6.  การปฏิบัติตามข้อกำหนดทันเวลา

e-tax บนระบบอัตโนมัติช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามกำหนดเวลาในการยื่นภาษีและปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบได้ทันท่วงที

7.    เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์
ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้แนวทางปฏิบัติในการเก็บรักษาบันทึกดีขึ้น ด้วยการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลทำให้สามารถเรียกค้นข้อมูลธุรกรรมทางการเงินได้ง่ายและในระยะยาว สร้างประสิทธิภาพ และความเร็วในการเตรียมและการประมวลผลธุรกรรมทางการเงินได้อย่างมาก ช่วยลดเวลาที่ต้องใช้สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาษีรวมถึงการออกใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าด้วยการมอบประสบการณ์ที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ

8.   มีความน่าเชื่่อถือและมีผลผูกพันทางกฎหมาย ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะรักษาเส้นทางการตรวจสอบโดยละเอียดสำหรับธุรกรรมทั้งหมดและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางการเงิน เส้นทางการตรวจสอบนี้มีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับการสืบสวน ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามประวัติการทำธุรกรรมและระบุกิจกรรมที่น่าสงสัยได้

ผู้ประกอบการสามารถเลือกจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ 2 วิธี

1. e-Tax Invoice & e-Receipt
2. e-Tax Invoice by e-mail 

ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt

           e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นระบบบริการของกรมสรรพากรนั้น ได้พัฒนาขึ้้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้้ และใบเสร็จรับเงิน ในรููปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีที่ตกลงกัน นอกจากนี้ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ผ่านช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนด

ระบบ e-Tax Invoice by Email

      e-Tax Invoice by Email คือ บริการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมสรรพากร สำนักงาน พัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) โดยมีวัตถุุประสงค์ เพื่่อให้ผู้ประกอบการเกิดความคุ้นเคย ได้เตรียมความพร้อม ก่อนเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิิกส์อย่างเต็มรูปแบบ สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูีูลค่าเพิ่ม ที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี ที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ โดยแนบไฟล์ PDF/A-3 ส่งผ่าน e-mail ให้ผู้ซื้อ และสำเนาให้ระบบ e-Tax Invoice by Email เพื่อประทับ รับรองเวลา (Time Stamp) หลังจากนั้น ระบบจะส่งไฟล์ข้อมูลที่ประทับรับรองเวลาแล้วให้กับ ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ และผู้ออกใบกำกับภาษีเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรม


e-Tax ทั้ง 2 รูปแบบของระบบนี้ แตกต่างกันอย่างไร ?