5 สัญญาณที่โรงงานผลิตควรเริ่มใช้ ERP | It's Time to Implement ERP in Your Factory

Views : 39
5 สัญญาณที่โรงงานผลิตควรเริ่มใช้ ERP | It's Time to Implement ERP in Your Factory

5 สัญญาณที่โรงงานผลิตควรเริ่มใช้ ERP | It's Time to Implement ERP in Your Factory

5 สัญญาณที่โรงงานผลิตควรเริ่มใช้ ERP

       ในโลกอุตสาหกรรมการผลิตที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ความรวดเร็วและประสิทธิภาพคือหัวใจสำคัญ หากโรงงานของคุณกำลังเผชิญกับความท้าทายบางอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า นั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าถึงเวลาแล้วที่คุณควรพิจารณาการนำระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) เข้ามาปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ราบรื่นและเติบโตอย่างยั่งยืน ลองสังเกต 5 สัญญาณเหล่านี้ หากโรงงานของคุณมีมากกว่าหนึ่งข้อ นั่นหมายความว่า ERP อาจเป็นโซลูชันที่ใช่สำหรับคุณ

 ERP คืออะไร และมีบทบาทอย่างไรในโรงงานผลิต

      การใช้ ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) หรือ ระบบวางแผนทรัพยากรภายในองค์กร ที่รวมกระบวนการหลักของธุรกิจไว้ในระบบเดียว ทั้ง การจัดซื้อ, คลังสินค้า, การผลิต, การขาย, การบัญชี และการวางแผน โดยระบบ ERP จะช่วยให้ข้อมูลในแต่ละฝ่ายสามารถเชื่อมโยงกันได้แบบเรียลไทม์ ลดความซ้ำซ้อน และเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจสำหรับโรงงานผลิตไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการธุรกิจ


แต่การนำมาใช้ในโรงงานผลิตบางแห่งยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะผู้ประกอบการโรงงานอาจไม่ทราบถึงความสำคัญ หรือยังไม่ทราบช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นใช้งาน ERP ในบทความนี้ เราจะมาเผย 5 สัญญาณที่บ่งบอกว่าโรงงานผลิตของคุณควรเริ่มใช้ ERP เพื่อปรับปรุงการบริหารงานและการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


สำรวจ 5 สัญญาณที่โรงงานผลิตควรเริ่มใช้ ERP

หากโรงงานของคุณกำลังพบเจอสัญญาณต่อไปนี้ นั่นอาจเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นใช้ระบบ ERP


1.    ไม่สามารถระบุแนวโน้มของธุรกิจ หรือตัดสินใจได้ทันที

ด้วยการบันทึกข้อมูลกระจายในหลายโปรแกรม รวมทั้งเอกสารกระดาษ ในแต่ละแผนก ทำให้ข้อมูลไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้แบบเรียลไทม์ มีการแก้ไขเอกสาร ล่าสุดก็ไม่สามารถรับรู้ได้ ทำให้ขาดความแม่นยำ มักจะพบกับปัญหากระบวนการทำงานที่ไม่เป็นระเบียบและซับซ้อน ข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ เช่น การผลิต, การจัดซื้อ, การขนส่ง, การเงินมักจะถูกจัดเก็บในหลายแหล่ง ทำให้เกิดความยุ่งยากในการติดตาม ประสานงาน และเสียเวลารวบรวมเมื่อต้องการวิเคราะห์ภาพรวม ใช้เวลานานในการตัดสินใจ

 

2. เข้าถึงข้อมูลล่าสุดเป็นไปอย่างล่าช้า ข้อมูลที่ไม่อัปเดต

ข้อมูลที่ไม่ได้รับการอัปเดตทันเวลาอาจทำให้การตัดสินใจในโรงงานผลิตไม่แม่นยำ ส่งผลต่อประสิทธิภาพ และค่าใช้จ่ายของการผลิต เมื่อโรงงานใช้ระบบที่ไม่มีการอัปเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ จะทำให้เกิดการคาดเคลื่อนในการตัดสินใจ และอาจเกิดปัญหาที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า

 

 

3. ต้นทุนการผลิตไม่สามารถควบคุมได้

เมื่อต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายแฝงไม่ได้ถูกเชื่อมโยงเข้าระบบเดียวกัน โรงงานจะไม่รู้ว่าผลิตแล้วกำไรจริงเท่าไร เกิดต้นทุนแฝงโดยไม่ทราบได้ทันที ทำให้การวางแผนระยะยาวผิดพลาด

 

 

4. สินค้าคงคลัง ขาดสต็อก/ล้นสต็อก บ่อยครั้ง

การจัดการวัตถุดิบเป็นหัวใจของการผลิต เมื่อเกิดวัตถุดิบขาดสต็อกอยู่บ่อยครั้ง เกิดการผลิตไม่ทัน ส่งผลต่อการจัดส่งล่าช้า ที่จะส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า หรือสั่งซื้อวัตถุดิบจำนวนมากกว่าความต้องการจริงทำให้มีของค้างสต๊อกโดยไม่จำเป็น เกิดต้นทุนจัดเก็บ หรือาจเกิดต้นทุนเสียจากวัตถุดิบหมดอายุ หรืออื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมสต็อกได้เรียลไทม์เพราะอ้างอิงจากการนับมือ หรือบันทึกข้อมูลบนไฟล์แยกกับฝ่ายจัดซื้อ ข้อมูลไม่เชื่อมกันเป็นปัจจุบัน

 

 

5. ไม่มีข้อมูลรองรับการวางแผนการผลิตได้แบบทันที

หากคุณต้องผลิตตามคำสั่งแบบวันต่อวัน เพราะไม่สามารถคาดการณ์วัตถุดิบ สต๊อก หรือกำลังการผลิตได้อย่างชัดเจน ระบบ ERP จะช่วยให้คุณวางแผนการผลิตได้แบบมีประสิทธิภาพ ควบคุมวัตถุดิบและเวลาการผลิตได้ดีขึ้น

 

      หากโรงงานของคุณพบกับสัญญาณทั้ง 5 ข้อเหล่านี้แล้ว การนำ ระบบ ERP มาใช้เป็นทางเลือกที่ควรพิจารณา เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการให้ดียิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการจัดการที่ไม่เป็นระเบียบ แต่ยังช่วยให้โรงงานของคุณสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน การเลือกใช้ระบบ ERP ในตอนนี้อาจเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในการพัฒนาโรงงานของคุณในอนาคต

 

      บทความนี้จะช่วยให้โรงงานผลิตสามารถตระหนักถึงสัญญาณที่ชัดเจนว่า ถึงเวลาแล้วที่ควรพิจารณานำระบบ ERP มาใช้ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพขึ้นไปอีกขั้น

 

ทางเลือกของระบบ ERP ที่เหมาะกับโรงงานผลิต

แม้ระบบ ERP จะมีหลายประเภทและหลากหลายผู้ให้บริการ แต่สำหรับโรงงานที่ต้องการโซลูชันที่ครอบคลุมทั้งการผลิต สต็อก บัญชี การจัดซื้อ ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบเดียว Microsoft Dynamics 365 Business Central เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะถูกออกแบบมาให้เหมาะกับธุรกิจขนาดกลางถึงใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตที่ต้องการความยืดหยุ่น และต้องการควบคุมกระบวนการได้ครอบคลุมทุกกระบวนการขององค์กร

       รองรับการบริหารงานผลิตแบบ Make to Order / Make to Stock

       เชื่อมโยงข้อมูลแบบ Real-time ระหว่างฝ่ายผลิต สต็อก และบัญชี

       ขยายระบบได้ตามการเติบโตของโรงงาน

       ใช้งานบน Cloud ได้ ลดภาระการดูแลระบบ

 

6 เหตุผลที่ ERP ช่วยสนับสนุนการบริหารโรงงานผลิตให้ดีขึ้น

ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจรุนแรงและต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรงงานผลิตที่ยังใช้วิธีการบริหารจัดการแบบเดิมอาจเผชิญกับปัญหาซ้ำซ้อน เช่น การควบคุมวัตถุดิบไม่แม่นยำ การผลิตล่าช้า หรือแม้แต่ข้อมูลการตัดสินใจที่ล้าหลัง ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับการบริหารโรงงานให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และรองรับการเติบโตระยะยาว

ต่อไปนี้คือ 6 เหตุผลหลักที่ระบบ ERP ช่วยยกระดับการบริหารโรงงานผลิตให้ดียิ่งขึ้น

 

1. มองเห็นภาพรวมทุกกระบวนการผลิตแบบ Real-Time

ระบบ ERP เชื่อมโยงข้อมูลจากทุกแผนก ตั้งแต่วางแผนการผลิต คลังสินค้า ไปจนถึงต้นทุนวัตถุดิบ ทำให้ผู้บริหารสามารถติดตามสถานการณ์การผลิตแบบเรียลไทม์ วิเคราะห์ปัญหา และตัดสินใจได้แม่นยำขึ้น

 

2. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และข้อผิดพลาดจากการทำงานแยกส่วน

หลายโรงงานยังใช้ Excel หรือระบบแยกกันหลายระบบ ทำให้เกิดการป้อนข้อมูลซ้ำหรือข้อมูลไม่ตรงกัน ERP รวมข้อมูลไว้ในศูนย์กลางเดียว ลดข้อผิดพลาด และช่วยให้การทำงานระหว่างแผนกราบรื่น

 

3. ควบคุมวัตถุดิบและสินค้าคงคลังได้แม่นยำ

ระบบ ERP สามารถแสดงข้อมูลสินค้าคงเหลือแบบทันที พร้อมแจ้งเตือนเมื่อวัตถุดิบใกล้หมดหรือใกล้หมดอายุ ช่วยลดการสั่งซื้อเกินความจำเป็น และหลีกเลี่ยงปัญหาสต็อกขาด

 

4. วางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสมตามคำสั่งซื้อจริงและความพร้อมของวัตถุดิบเป็นสิ่งสำคัญ ERP ช่วยให้โรงงานสามารถจัดลำดับการผลิต วางกำลังคน และใช้เครื่องจักรได้คุ้มค่ามากขึ้น

 

5. วิเคราะห์ต้นทุนได้อย่างแม่นยำและทันเหตุการณ์

ERP บันทึกต้นทุนจากทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนวัตถุดิบ แรงงาน หรือค่าขนส่ง ช่วยให้ผู้บริหารทราบต้นทุนที่แท้จริง และสามารถควบคุมกำไรได้ดีขึ้น

 

6. รองรับการขยายธุรกิจในอนาคต

โรงงานผลิตที่มีแผนขยายสายผลิตภัณฑ์หรือขยายสาขา ERP ช่วยสร้างระบบมาตรฐานที่ปรับขยายได้ง่าย และเชื่อมโยงข้อมูลได้ทุกที่ ช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างมีโครงสร้าง

 

เสริมความพร้อมของโรงงานคุณ ด้วย ERP ที่ตอบโจทย์ธุรกิจผลิต

ระบบ ERP อย่าง Microsoft Dynamics 365 Business Central ได้รับความนิยมในกลุ่มโรงงานผลิตทั่วโลก ด้วยความสามารถในการเชื่อมโยงทุกกระบวนการในโรงงาน ตั้งแต่ใบสั่งขายไปจนถึงการวิเคราะห์ต้นทุนแบบละเอียด พร้อมรองรับการใช้งานทั้งในระดับโรงงานขนาดกลางและขนาดใหญ่

หากโรงงานของคุณกำลังมองหาแนวทางการบริหารที่ชัดเจน แม่นยำ และยืดหยุ่น การนำ ERP เข้ามาใช้อาจเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยเปลี่ยนการบริหารจาก “ปฏิกิริยา” เป็น “เชิงรุก” อย่างแท้จริง

 

ข้อควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกใช้ ERP สำหรับโรงงานผลิต

การตัดสินใจนำระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) มาใช้ในโรงงานผลิต เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อทั้งกระบวนการทำงาน บุคลากร และผลลัพธ์ทางธุรกิจในระยะยาว หากคุณเป็นเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารโรงงานที่กำลังพิจารณาระบบ ERP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริหารจัดการธุรกิจ ต่อไปนี้คือ ข้อควรรู้ที่ควรพิจารณาให้รอบด้าน ก่อนจะเริ่มดำเนินการติดตั้งระบบ

 

1. ทำความเข้าใจความต้องการ และปัญหาของธุรกิจอย่างแท้จริง

       วิเคราะห์กระบวนการทำงานปัจจุบัน

ระบุจุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาคอขวด และความไม่มีประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดซื้อ การขาย และด้านอื่นๆ

 

       กำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน

ต้องการให้ ERP ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรบ้าง? ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านใด? ต้องการข้อมูลเชิงลึกแบบใดเพื่อประกอบการตัดสินใจ?

 

       ระบุความต้องการเฉพาะของอุตสาหกรรม

โรงงานผลิตแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะ เช่น การจัดการสูตรการผลิต การควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด การติดตามล็อตและซีเรียลนัมเบอร์ ซึ่ง ERP ที่เลือกควรมีฟังก์ชันที่รองรับความต้องการเหล่านี้



2. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ ERP ที่เข้ากันได้กับธุรกิจ และผู้ให้บริการ

       ฟังก์ชันการทำงาน: ตรวจสอบว่า ERP ที่สนใจมีฟังก์ชันที่ครอบคลุมความต้องการของโรงงานผลิตของคุณหรือไม่ เช่น การจัดการ BOM, การวางแผนการผลิต, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การจัดการคุณภาพ, การบัญชีต้นทุน

 

       ความสามารถในการปรับแต่ง: ระบบ ERP สำหรับโรงงานผลิตที่ดีควรมีความยืดหยุ่น สามารถครอบคลุมการทำงานตั้งแต่การวางแผนการผลิต (Production Planning), การควบคุมวัตถุดิบ (Inventory), การตรวจสอบคุณภาพ (QC), การควบคุมต้นทุน, ไปจนถึงการจัดการจัดซื้อ-ขาย และการเงิน สามารถสามารถปรับแต่งให้เข้ากับกระบวนการทำงานเฉพาะของโรงงานได้   เพื่อให้การบริหารเป็นระบบและลดงานซ้ำซ้อน

 

       การรองรับการเชื่อมระบบอื่นๆ หากโรงงานของคุณมีระบบอื่นที่จำเป็นต้องทำงานร่วมกับ ERP ตรวจสอบความสามารถในการบูรณาการของ ERP ที่เลือก

 

       คัดเลือกผู้ให้บริการ ERP ควรพิจารณาผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมผลิต และมีบริการซัพพอร์ตการใช้งานระบบที่ดี มี SLA ที่ชัดเจน

 

3. ประเมินความพร้อมขององค์กร

       กำหนดงบประมาณ
กำหนดงบประมาณที่ชัดเจนสำหรับค่าซอฟต์แวร์ ค่าติดตั้ง ค่าฝึกอบรม และค่าบำรุงรักษาในระยะยาว

       โครงสร้างพื้นฐานด้าน IT
ตรวจสอบความพร้อมของฮาร์ดแวร์ เครือข่าย และบุคลากรด้าน IT ที่จะรองรับการใช้งานระบบ ERP

       การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมองค์กร
การนำ ERP มาใช้จะส่งผลกระทบต่อวิธีการทำงานของพนักงาน เตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงและวางแผนการสื่อสารและการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม

 

       การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร และพนักงาน
การได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกระดับ และการมีส่วนร่วมของพนักงานในกระบวนการคัดเลือกและนำระบบมาใช้ เป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ

 

4. กระบวนการคัดเลือก ERP และการประเมินผู้ให้บริการวางระบบ ERP

 

       สร้างทีมคัดเลือก
ประกอบด้วยตัวแทนจากแผนกต่างๆ ที่จะใช้งานระบบ ERP เพื่อให้มั่นใจว่าทุกความต้องการได้รับการพิจารณา

       กำหนดเกณฑ์การประเมิน
สร้างเกณฑ์ที่ชัดเจนในการเปรียบเทียบระบบ
ERP แต่ละตัว โดยอิงจากความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจ

       นัด Demo ERP และพิจารณาการนำเสนอการมอบบริการ
เพื่อการทราบถึงประสบการณ์ของผู้บริการวางระบบ เคยผ่านการวางระบบให้กับธุรกิจที่คล้ายกับองค์กรของท่านมาหรือไม่ การให้บริการนำเสนอตั้งแต่ต้นที่พร้อมมอบประสบการณ์ พร้อมเข้าใจธุรกิจของท่านมองความสำเร็จไปด้วยกันไม่ใช่แค่วางระบบทั่วไป

 

      การเลือกใช้ระบบ ERP สำหรับโรงงานผลิตเป็นการลงทุนที่สำคัญที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพในการดำเนินงานทั้งในด้านการผลิต การจัดการสต๊อก และการวางแผนธุรกิจ หากโรงงานของคุณกำลังเผชิญกับหนึ่งในสัญญาณที่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ เช่น ความล่าช้าในการจัดการข้อมูล ปัญหาการควบคุมต้นทุน หรือการขาดความแม่นยำในการรายงานข้อมูล การตัดสินใจเริ่มใช้ ERP ในเวลานี้อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการพัฒนาธุรกิจของคุณให้เติบโตอย่างยั่งยืน

 

      การเลือก ERP ที่เหมาะสมและการดำเนินการติดตั้งอย่างถูกต้องจะช่วยให้โรงงานของคุณสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้คุณสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เร็วขึ้น ควบคุมต้นทุนได้ดีกว่า

 

หากคุณกำลังพิจารณาที่จะลงทุนในระบบ ERP อย่าลืมพิจารณาความต้องการเฉพาะของธุรกิจ และพิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์ในการช่วยโรงงานผลิตประสบความสำเร็จด้วย ERP เช่น Microsoft Dynamics 365 Business Central เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณ


ปรึกษา
erp กับ Bigwork ผู้ให้บริการติดตั้งระบบ (Partner Microsoft)
ERP Microsoft Dynamics 365  Business Central 

Line : @BIGWORK 

โทร.  062-6198619

e-mail : marketing@bigworkthailand.com

 

บล็อกที่เกี่ยวข้อง


หากคุณกำลังมองหาระบบ ERP เพื่อการบริหารด้านธุรกิจและการวางแผนทรัพยากรต่างๆ ขององค์กรให้มีประสิทธิภาพที่สูงสุด เรามีบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางเทคนิคครบวงจร ทั้งงานด้าน Implement และ Support เพื่อช่วยพัฒนาและบริหารด้านธุรกิจของท่านให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด